นาซาปล่อยภาพ “กลุ่มเมฆ โร โอฟิยูชี” ฉลองครบรอบ 1 ปี “เจมส์ เว็บบ์”

เป็นเวลา 1 ปีแล้ว ที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์เว็บบ์ (JWST) ขององค์การนาซา ได้ทำงานเพื่อเปิดเผยภาพของจักรวาลในแบบที่เราไม่เคยได้เห็นมาก่อน และที่ผ่านมาได้ถ่ายภาพคุณภาพสูงที่มีคุณค่าทั้งในเชิงสุนทรียะและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยภาพที่ถ่ายมามีทั้งจากภายในระบบสุริยะไปจนถึงกาแล็กซีอันไกลโพ้น

เพื่อเป็นการฉลองความสำเร็จของการทำงานในปีแรกของ เจมส์ เว็บบ์ องค์การนาซาจึงได้เผยแพร่ภาพใหม่ล่าสุดของมัน เป็นภาพพื้นที่ก่อตัวดาวฤกษ์ขนาดเล็กในกลุ่มเมฆ โร โอฟิยูชี (Rho Ophiuchi)

คำพูดจาก สล็อต777

บิล เนลสัน ผู้อำนวยการองค์การนาซา กล่าวว่า “ในเวลาเพียง 1 ปี กล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เว็บบ์ ได้เปลี่ยนมุมมองของมนุษยชาติที่มีต่อจักรวาล โดยมองทะลุเข้าไปในเมฆฝุ่นและเห็นแสงจากมุมที่ห่างไกลของเอกภพเป็นครั้งแรก ภาพใหม่ทุกภาพคือการค้นพบครั้งใหม่ ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกสามารถถามและตอบคำถามที่พวกเขาไม่เคยคาดฝันมาก่อน”

เขาเสริมว่า “เว็บบ์เป็นการลงทุนในนวัตกรรมของอเมริกา แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นได้เพราะความร่วมมือของพันธมิตรนาซา ที่แบ่งปันจิตวิญญาณเพื่อร่วมกันผลักดันขอบเขตของความเป็นไปได้ วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ และทีมงานหลายพันคน ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจในชีวิตให้กับภารกิจนี้ และความพยายามของพวกเขาจะช่วยยกระดับความเข้าใจของเราเกี่ยวกับต้นกำเนิดของเอกภพ”

นักดาราศาสตร์พบหนึ่งในข้อพิสูจน์ จักรวาลสามารถ “ขยายขนาดเวลา” ได้

สวยไปอีกแบบ นาซาเผยภาพ “ดาวเสาร์” จากกล้อง เจมส์ เว็บบ์

นักวิทย์ “ได้ยิน” คลื่นความโน้มถ่วงในอวกาศเป็นครั้งแรก!

ภาพใหม่ล่าสุดของ เจมส์ เว็บบ์ นี้ เป็นพื้นที่ก่อตัวดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกของเราที่สุด ห่างออกไป 390 ปีแสง

นิโคลา ฟ็อกซ์ ผู้ช่วยผู้ดูแลฝ่ายภารกิจวิทยาศาสตร์ของนาซา กล่าวว่า “ในวันครบรอบปีแรก กล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เว็บบ์ ได้ทำตามสัญญาที่จะเปิดเผยเอกภพ มอบขุมทรัพย์อันน่าทึ่งเป็นภาพและองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่จะคงอยู่ต่อไปอีกหลายทศวรรษ”

เธอเสริมว่า “เว็บบ์ทำให้เราเข้าใจกาแล็ดซี ดวงดาว และชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา ซึ่งเป็นการวางรากฐานให้นาซาเป็นผู้นำโลกในยุคสมัยใหม่แห่งการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และการค้นหาโลกใบอื่นที่น่าอยู่อาศัย”

สำหรับภาพพื้นที่ก่อตัวดาวฤกษ์ขนาดเล็กในกลุ่มเมฆ โร โอฟิยูชี นั้น เป็นภาพที่แสดงบริเวณที่มีดาวอายุน้อยประมาณ 50 ดวง โดยทั้งหมดมีมวลใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ของเราหรือเล็กกว่านั้น

บริเวณที่มืดที่สุดของภาพ คือส่วนที่หนาแน่นที่สุด มวลฝุ่นหนากำลังก่อตัวเป็นดาวฤกษ์ก่อนเกิดหรือโปรโตสตาร์ ส่วนบริเวณที่เป็นเหมือนแนวสีแดงตรงมุมซ้ายบนและด้านขวาของภาพ เกิดจากโมเลกุลไฮโดรเจน เกิดขึ้นเมื่อดาวฤกษ์ดวงหนึ่งระเบิดผ่านฝุ่น ยิงไอพ่นขึ้นสู่อวกาศเหมือนเด็กแรกเกิดยื่นแขนออกมาสู่โลก

ขณะที่ด้านล่างของภาพ จะสังเกตเห็นสิ่งที่เป็นเหมือนฝุ่นเรืองแสง เกิดจากดาวฤกษ์ S1 ซึ่งเป็นดาวดวงเดียวในภาพที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ของเราอย่างเห็นได้ชัด

เคลาส์ พอนทอปปิดัน นักวิทยาศาสตร์โครงการเว็บบ์ กล่าวว่า “ภาพ โร โอฟิยูชี ของเว็บบ์ช่วยให้เราสามารถเห็นช่วงเวลาสั้น ๆ ในวงจรชีวิตของดาวฤกษ์ได้อย่างชัดเจน ดวงอาทิตย์ของเราเคยผ่านช่วงเวลาเช่นนี้มานานแล้ว และตอนนี้เรามีเทคโนโลยีที่จะเห็นจุดเริ่มต้นเรื่องราวของดาวดวงอื่น”

เรียบเรียงจาก NASA

 นาซาปล่อยภาพ “กลุ่มเมฆ โร โอฟิยูชี” ฉลองครบรอบ 1 ปี “เจมส์ เว็บบ์”

ภาพจาก NASA